ถ้ากินผักที่มี ไนเตรท สูงแล้วเป็นอะไร
หากมี ไนเตรท ในอาหารมากเกินไปจะก่อให้เกิดปัญหาของความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร เพราะเมื่อกิน ไนเตรท เข้าไปแบคทีเรียในลำไส้จะเปลี่ยนไนเตรทเป็นไนไตรท์ ซึ่งไนไตรท์จะเป็นตัวทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ป่วย เช่น 1)ไปขยายหลอดเลือดให้ฟโตขึ้นทำให้ความดันเลือดต่ำลงทำให้รู้สึกเหมือนเป็นลมหมดสติ 2)ทำให้ตับไม่สามารถสะสมวิตามินเอได้ตามปกติ 3)ปัญหาสำคัญคือจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กเนื่องจากไนไตรท์จะขัดขวางการพาออกซิเจนฮีโมโกลบินในเลือดกล่าวคือเมื่อไนไตรท์ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดแล้วจะเข้าจับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนได้สารประกอบสีน้ำเงินจะทำให้เด็กตัวเขียวคล้ำ ขาดอากาศหายใจและอาจตายในที่สุด อาการเช่นนี้เรียกว่า โรคบลูเบบี้ (Blue baby syndrome) หรือ โรคเมทีโมโกลบิเนเมีย (Methemoglobiemia) ในเด็กเล็กและทารกในช่วงที่อยู่ในครรภ์ของมารดา โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 เดือนเพราะลำไส้มีความเป็นกรดที่พอเหมาะกับความต้องการของแบคทีเรียประเภทไนเตรทรีดิวซิ่งแบคทีเรีย (nitrate reducing bacteria) ที่จะเปลี่ยนไนเตรท เป็นไนไตรท์
นั่นคือไนไตรท์จะเปลี่ยนฮีโมโกลบิลให้เป็นเมทีโมโกลบิน (Methemoglobin) ซึ่งไม่มีอำนาจหรือความสามารถ ในการนำออกซิเจนจากปอดไปสู่ร่างกายทำให้สมองขาดออกซิเจนและเป็นลมหมดสติ หรืออาจกล่าวเป็นข้อๆได้ดังนี้
1. กินแล้ว ทำให้ความดันต่ำ สามารถเป็นลม หรือ หมดสติได้
2. ทำให้ตับไม่สามารถเก็บวิตมินเอ ส่งไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้
3.ทำให้เด็กๆ เกิดโรคบลูเบบี้ (โรงนี้ถึงกับเสียชีวิต)
4.บางครั้งที่กินเข้าไป ถ้าไปโดนกับแบคทีเรียในลำไส้บางชนิด อาจทำให้เกิดมะเร็งได้
ผักอะไรบ้างที่มีไนเตรตสูง
1.ผักโขม
2.ปวยเล้ง
3.สลัด
4.กวางตุ้ง
5.ผักบุ้ง
6.คะน้า
7.วอเตอร์เครส
8.ผักที่ปลูกแบบไฮโดโปนิกค์
วิธีการปรุงอาหาร สำหรับผักที่มีไนเตรทสูง
1.ต้มในน้ำเดือด 5นาทีขึ้นไป
2.ทานได้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
3.ไม่ปรุงร่วมกับเนื้อปลา
4.ไม่นำไปแช่แข็ง